วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ดุษฎีบัณฑิต เรื่อง การพัฒนาการปรับปรุงความสามารถของเด็กพิการทางสมอง

          เรื่อง  การพัฒนาการปรับปรุงความสามารถของเด็กพิการทางสมอง
  ผู้วิจัย  นายสาธิน  ประจัญบาน

     ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาพลศึกษา  เอกพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ปีการศึกษา    2546

   ขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและพัฒนาเครื่องมือ
ประกอบด้วย   4   ขั้นตอน
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมองพิการ   วิธีการฟื้นฟูและกำหนดสภาพความต้องการของครูผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นผู้สมองพิการ  ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกการฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
2.การประเมินและทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
3.การสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
4.การปรับปรุงโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
       ขั้นตอนที่  1
   การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมองพิการ   วิธีการฟื้นฟู  ในแต่ละด้านขององค์ประกอบ ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมกา
ฝึกการฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
       ขั้นตอนที่  2
   การสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการลำดับขั้นตอนการสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ 

1. ศึกษาเอกสารตำรา  วิธีฝึก โบบาตรและโดสะโฮการ
2. วิเคราะห์โดยแบ่งเป็นขั้นตอนตามระดับการพัฒนา
       3. นำข้อมูลการฝึกให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
       4. นำข้อเสนอแนะให้ผู้เชี่ยวชาญปรับปรุงแก้ไข
       5. จัดโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหว
       6.นำโปรแกรมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิแก้ไขความถูกต้อง
       7. นำข้อเสนอแนะให้ผู้ทรงคุณวุฒิปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
       

  ขั้นตอนที่  3
     การประเมินและทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ              
1 แบบประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเด็กสมองพิการ
2         แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
1.ศึกษาเอกสารประเมินทักษะเพื่อสำรวจพัฒนาการของเด็กสมองพิการ
2.ศึกษาเอกสารเด็กพิการในชุมชน  คูมือเจ้าหน้าที่อนามัย
3.ศึกษาหนังสือเด็กสมองพิการ
4.ออกแบบการสร้างการประเมินในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
5.กำหนดเกณฑ์ในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
6. นำแบบประเมินในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
7.นำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิไปปรับปรุงให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่  4
   การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเปรียบเทียบคะแนนจากความสามารถทางการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กสมองพิการไปพัฒนาความถูกต้องของโปรแกรมการฝึก
สรุปผลการวิจัย
  ผลการวิจัยเรื่อง   การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
หลังจากการดำเนินการทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นทั้ง  4  โปรแกรม  พบว่าหลังการประเมินเด็กสมองพิการทั้ง  4  คน  มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นและพัฒนาการเคลื่อนไหวดีขึ้นทุกคน


 











วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ยิมนาสติก

ยิมนาสติก (Gymnastics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก แปลว่า กรีฑา หรือ กีฬา ซึ่งเป็นกิจกรรมการเล่นเพื่อการออกกำลังกาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สถานที่ฝึกซ้อมหรือสถานที่แข่งขัน จะเรียกว่า ยิมเนเซียม (Gymnasium) กิจกรรมทุกประเภทที่มีการเล่นออกกำลังกาย จะถูกเรียกว่า "ยิมนาสติก" เหมือนกันหมด ต่อมาเมื่อกีฬาแต่ละประเภทมีวิวัฒนาการของตนเอง มีกฏระเบียบกติกาเพิ่มขึ้น ต่างก็ตั้งชื่อประเภทกีฬาของตนเองขึ้นใหม่ ทำให้กิจกรรมที่เรียกชื่อรวมว่า "ยิมนาสติก" เหลือน้อยลง จนกระทั่งเหลือกิจกรรมเฉพาะอย่างที่ยังคงเรียกว่า "ยิมนาสติก" และจัดให้มีกฎระเบียบและกติกาการแข่งขันกันขึ้นภายหลังเมื่อกรีกและโรมันเสื่อมอำนาจลง กิจกรรมการออกกำลังกายแบบยิมนาสติกของกรีก เกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีกิจกรรมเลยแม้แต่น้อยการออกกำลังกายเพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายได้เริ่มมีบทบาทสำคัญอีกครั้งประมาณ พ.ศ. 2266 โดยการนำของนักศึกษาชาวเยอรมันหลายคน เช่น โจฮัน เบสโดว์ (Johan Basedow) ได้จัดให้มีการสอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขึ้นในโรงเรียนพ.ศ. 2319 โจฮัน กัธ มัธส์ นักศึกษาชาวเยอรมันได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือยิมนาสติกขึ้น ต่อมา ฟริดริช จาน (Friedrich Jahn) ก็ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ เช่น ราวคู่ ราวเดี่ยว ม้ากระโดด และอื่น ๆ เพื่อใช้ในการออกกำลังกายและเรียกว่า ยิมนาสติกเหมือนสมัยกรีกและโรมัน และอาจจะเนื่องมาจาก ฟริดริช จาน ได้ประดิษฐ์เครื่องสำเร็จเพื่อใช้ในการออกกำลังกาย และเรียกชื่อตามกรีกโบราณนี่เอง จึงทำให้มีความเข้าใจในปัจจุบันว่า "ยิมนาสติก" คือการออกกำลังกายที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ ราวคู่ ราวเดี่ยว ม้ากระโดด หรืออื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสำหรับความเป็นมาของยิมนาสติกในประเทศไทยนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าได้เริ่มมาแต่สมัยใด หากจะถือว่า ยิมนาสติก คือ กีฬาหรือกรีฑาตามความหมายเดิมนั้นก็นับได้ว่า ไทยมีมานานควบคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยก็ว่าได้ เพราะมีหลักฐานว่า คนไทยมีการเล่นกีฬาประจำชาติ เช่น มวยไทย กระบี่กระบอง เพื่อรักษาสมรรถภาพของร่างกายให้อยู่ในระดับสูงเสมอ เพื่อพร้อมที่จะทำศึกสงครามป้องกันประเทศเป็นสำคัญสำหรับยิมนาสติกในความหมายปัจจุบัน คือ ออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ประกอบนั้นเข้าใจว่ามีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศได้นำความรู้ และประสบการณ์มาเผยแพร่ เช่น บรรจุวิชายิมนาสติกและยืดหยุ่นเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2430 และใน พ.ศ. 2441 ได้มีการจัดแผนการศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรกได้บรรจุวิชาพลศึกษา เป็นวิชาบังคับในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและได้มีการสอนวิชายิมนาสติกและยืดหยุ่นด้วยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การออกกำลังกายแบบยิมนาสติกและยืดหยุ่นนี้ ก็ได้มีบทบาท และเป็นส่วนสำคัญในการจัดหลักสูตรวิชาพลศึกษาในโรงเรียนสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้


การพัฒนาสื่อและเครื่องมือ

                     ขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและพัฒนาเครื่องมือ
ประกอบด้วย   4   ขั้นตอน
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมองพิการ   วิธีการฟื้นฟูและกำหนดสภาพความต้องการของครูผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นผู้สมองพิการ  ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกการฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
2.การประเมินและทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
3.การสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
4.การปรับปรุงโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
       ขั้นตอนที่  1
   การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมองพิการ   วิธีการฟื้นฟู  ในแต่ละด้านขององค์ประกอบ ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมกา
ฝึกการฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
       ขั้นตอนที่  2
   การสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการลำดับขั้นตอนการสร้างโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ 

1. ศึกษาเอกสารตำรา  วิธีฝึก โบบาตรและโดสะโฮการ
2. วิเคราะห์โดยแบ่งเป็นขั้นตอนตามระดับการพัฒนา
       3. นำข้อมูลการฝึกให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
       4. นำข้อเสนอแนะให้ผู้เชี่ยวชาญปรับปรุงแก้ไข
       5. จัดโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหว
       6.นำโปรแกรมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิแก้ไขความถูกต้อง
       7. นำข้อเสนอแนะให้ผู้ทรงคุณวุฒิปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
       

  ขั้นตอนที่  3
     การประเมินและทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ              
1 แบบประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเด็กสมองพิการ
2         แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
1.ศึกษาเอกสารประเมินทักษะเพื่อสำรวจพัฒนาการของเด็กสมองพิการ
2.ศึกษาเอกสารเด็กพิการในชุมชน  คูมือเจ้าหน้าที่อนามัย
3.ศึกษาหนังสือเด็กสมองพิการ
4.ออกแบบการสร้างการประเมินในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
5.กำหนดเกณฑ์ในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
6. นำแบบประเมินในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
7.นำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิไปปรับปรุงให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่  4
   การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเปรียบเทียบคะแนนจากความสามารถทางการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กสมองพิการไปพัฒนาความถูกต้องของโปรแกรมการฝึก
สรุปผลการวิจัย
  ผลการวิจัยเรื่อง   การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
หลังจากการดำเนินการทดลองใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นทั้ง  4  โปรแกรม  พบว่าหลังการประเมินเด็กสมองพิการทั้ง  4  คน  มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นและพัฒนาการเคลื่อนไหวดีขึ้นทุกคน


 










วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

กีฬาแบดมินตัน และ กีฬา วอลเลย์บอล

ประวัติกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย
   เจียมศักดิ์   พานิชชัชกุลได้รวบรวมกีฬาแบดมินตันไว้ว่า  กีฬาแบดมินตันเริ่มเล่นในประเทศไทยราวปี  ..2456  โดยพระยานิพัตน์กุลพงษ์เป็นคนไทยคนแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นออกกำลังกายในยามว่าง  ที่บริเวณคลองสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดธนบุรี ต่อมาหลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตันเป็นกีฬาที่ดี  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย หาที่ตั้งสนามไม่ยาก นอกจากเป็นที่ออกกำลังกายที่ดีแล้ว ยังเป็นที่พบปะสังสรรค์ของญาติมิตร  ก่อให้เกิดความสามัคคี  เหมาะสมกับคนไทย  จึงสร้างสนามแบดมินตันขึ้นอีกที่บ้าน  ตำบลสมเด็จพระยา  จังหวัดธนบุรี  มีการเล่นกันเป็นประจำ  จนเป็นที่เล่าลือว่าการเล่นแบดมินตันที่บ้านนี้มีผู้เล่นที่เก่งมาก  ต่อมาได้มีการสร้างสนามขึ้นอีกหลายแห่ง  มีทั่วไปในจังหวัดธนบุรี  จังหวัดพระนคร  และต่างจังหวัด  ได้มีการเชิญให้ไปประลองฝีมือกันอยู่เสมอ  ซึ่งในตอนแรกๆ  การเล่นแบดมินตันในประเทศไทยนิยมเล่นกันข้างละ  3  คน   และยังตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้แต่นิยมและในคนสูงอายุ   และมีการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีอีกด้วย  ในปี  ..  2462  ทางสโมสรกลาโหมได้เปิดการแข่งขันแบดมินตันทั่วไปครั้งแรกในประเทศไทย  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีกีฬาแบดมินตันแพร่หลายยิ่งขึ้น  มีการแข่งขันประเภทเดี่ยว  ประเภทคู่  และประเภท  3  คน  นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่ากีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นในราชสำนักของไทย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดกีฬาแบดมินตันถึงกับมีพระราชกระแสรับสั่งให้เล่นถวายทอดพระเนตร  ซึ่งสนามแบดมินตันสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง  เวลามีลมพัดหรือฝนตกแรงๆ  ก็จะเล่นไม่ได้  นอกจากนี้ยังส่งนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดี  เดินทางออกไปแข่งขันกับประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ
                ในปี  ..  2493  หลวงธรรมนูญวุฒิกร  ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยร่วมกับ  ณัติ  นิยมวาณิช   ยง  อุทิศกุล  ฯลฯ  พร้อมกับเชิญพระยาจินดารักษ์  ขึ้นเป็นนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยเป็นคนแรก  และนั้นคือจุดเริ่มต้นของกีฬาแบดมินตันของประเทศไทย  ที่จะเข้าไปสู่วงการกีฬาแบดมินตันของโลกเมื่อประมาณกลางปี  ..  2493  ได้มีการเชิญนักกีฬา  แบดมินตัน  เช่น  ว่อง  เป่ง  สุน  และตันโจฮอค  เข้ามาสาธิตการเล่นแบดมินตันด้วย
                ในปี  ..  2494  ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติและสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย  ได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโธมัคคัพที่ประเทศอินเดียปรากฏว่า   ทีมไทยแพ้อินเดีย  ด้วยคะแนน  9-0
                ชาวไทยนิยมเล่นกีฬาแบดมินตันกันมาก  แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ก็ทรงกีฬาแบดมินตันด้วยพระองค์เองเป็นประจำ  ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของวงการกีฬาแบดมินตันไทย  และสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  ได้ประทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์  ส่งนักกีฬาแบดมินตันไทยไปแข่งขัน  ออลอิงแลนด์  เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ  เมื่อปี  ..  2501  และทรงนำนักกีฬาแบดมินตันไทยไปแข่งขันที่ยุโรปอีกครั้งหนึ่งส่วนพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้า  สุทธิสิริโสภานั้น  นอกจากส่งสนับสนุนนักกีฬาแบดมินตันด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์แล้ว  ยังทรง   นำเสด็จทีมนักกีฬาแบดมินตันไทยไปแข่งขันในยุโรปและเอเชียหลายครั้ง  ทรงก่อตั้งสมาคมแบดมินตันแร็กเกตมิวเซียมในปี  ..  2510
                จะเห็นได้ว่า  กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมในประเทศไทย  นอกจากนี้  ประเทศไทยยังสามารถผลิตอุปกรณ์การเล่น  เช่น  ไม้แร็กเกต  ลูกขนไก่  ตาข่าย  จนสามารถเป็นสิ้นค้าส่งออกไปขายยังประเทศใกล้เคียงได้อีกด้วย
























ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย 
                กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
                กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยนั้นไม่มีลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า  ได้แพร่หลายเข้ามาในปีใดหรือสมัยใด  แต่พอจะอนุมานได้ว่าการเล่นวอลเลย์บอลได้มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่า  60  ปี  โดยมากเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ  เมื่อตั้งกรมพลศึกษาขึ้น  เมื่อปี  ..  2476  กรมพลศึกษาเห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่นักเรียนทั้งหญิงและชายสามารถเล่นได้  จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ขึ้นในสถาบันพลศึกษา
                ในปี  ..  2477  กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น  โดยอาจารย์นพคุณ  พงษ์สุวรรณ  เป็นผู้แปล  ท่านเป็นผู้ที่มีความชำนาญมากจึงได้รับการเชิญให้เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีเล่น  ตลอดจนกติตาการแข่งขันให้ครูพลศึกษาทั่วประเทศประมาณ  100  คน  ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น  และในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีและบรรจุวอลเลย์บอลหญิงไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก  ซึ่งในสมัยของ  ..  หลวงสุภชลาศัย  ..  ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา  แต่การแข่งขันไม่ใคร่เป็นที่นิยมนัก  ทั้งนี้เพราะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแต่ละบุคคล  เล่นกันไปตามเรื่องตามราวเพียงมิให้ผิดกติกา  ส่วนที่จะให้มีฝีมือนั้นไม่มีทางเป็นไปได้  เพราะไม่มีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาฝึกสอนให้  จึงทำให้การเล่นวอลเลย์บอลเสื่อมความนิยมไป  แต่ยังคงมีการแข่งขันอยู่เรื่อยๆ  ทั้งทีปริมาณไม่เพิ่มขึ้นและคุณภาพก็ยังไม่ดีพอ
                ต่อมาได้ทราบกันว่า  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ประเทศใกล้เคียง  เช่น  ประเทศจีน  ญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์นิยมเล่นกันมาก  และมีฝีมืออยู่ในขั้นมาตรฐาน  มีเทคนิคต่างๆ  ที่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่เป็นที่น่าเบื่อหน่าย  บรรดาผู้ฝึกสอนซึ่งความจริงหาใช่ผู้ชำนาญการโดยเฉพาะไม่  หากแต่สนใจและพยายามเรียนรู้การเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ  นำมาถ่ายทอดไปยังผู้เล่น  ทำให้เกิดความสนใจในการเล่นวอลเลย์บอลกันขึ้นอีกระยะหนึ่งและเจริญมาจนกระทั่งทุกวันนี้  แม้ว่าจะดีไม่ถึงขนาดแต่ก็มีผู้เล่นวอลเลย์บอลที่เข้าใจกติกาและการเล่นที่ถูกต้องตามเทคนิค

กีฬาพื้นบ้านไทย

กีฬาพื้นเมืองไทยเพื่อการแข่งขัน
ความสำคัญของกีฬาพื้นเมืองไทย
วัฒนธรรม  คือ  ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม   ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความกรมเกลียวก้าวหน้าของชาติ  และศิลธรรมอันดีของประชาชน  ลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แต่ต่างสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆมีวัฒนธรรมอันเป็นตัวเลือกในการดำเนินชีวิต  เป็นสิ่งที่บุคคลเลือกมาเป็นความคิด  ความเชื่อ  การที่จะศึกษามนุษย์เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่แสดงออกจึงต้องศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์กลุ่มนั้นเพราะ   วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของมนุษย์  ซึ่งแต่ละสังคมมีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง  เหตุที่กล่าวว่า  วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคมก็เพราะวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง  มีการเรียนรู้  จะโดยจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม  จากคนหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยมิขาดสาย  เช่น  วัฒนธรรมด้านภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ รวมถึงการละเล่นพื้นเมือง  เป็นต้น
การเล่นเกมพื้นบ้านหรือกีฬาพื้นเมืองที่เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตแห่งความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี  ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยในอดีตได้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแฝงไว้ด้วยคุณค่าจากสิ่งต่างๆ  ฝากไว้ให้ลูกหลานไทยได้สืบต่อๆกันไปจวบจนถึงปัจจุบัน  เพราะการจัดกีฬาได้ว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานของชีวิตและสังคมมนุษย์  มาตั้งแต่สมัยโบราณยุคหินแล้ว  การเล่นกีฬาเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา  กีฬาแบบเก่าๆหลายชนิด  ได้รับการปรับปรุงดัดแปลงจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
แต่กีฬาไทยหลายชนิดก็ยังคงรูปแบบการเล่นแบบเก่าๆที่ยังคงเล่นในท้องถิ่นเท่านั้น  เราเรียกกีฬาไทยที่เล่นสืบทอดมาแต่โบราณที่เล่นกันในเฉพาะท้องถิ่นนี้ว่า    กีฬาพื้นเมืองไทย

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของกีฬาปันจักสีลัต

                          ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นความที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า ปันจักสีลัต (Pencak)     หมายถึง การป้องกันตัวเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึง ศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตัวเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายูในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (South East Asia) ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า สิละหรือ บือดีกา เป็นศิลปะการต่อสู้อย่างหนึ่ง ของชาวไทยมุสลิม เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำมาจากคำว่า ศิละภาษาสันกฤต ทั้งนี้เพราะดินแดนของมาลายู ในอดีตอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีความสันสฤตปรากฏอยู่มากประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตหรือสีละนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันบ้างและแตกต่างกันบ้าง โดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทที่ได้เขียนขึ้นมา อินโดนีเซีย เล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป แต่สำหรับในครั้งนี้จะขอนำบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดยอาจารย์ประพนธ์  เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสีละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสีละที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้รู้จักกันดี

                     กีฬาปันจักสีลัตเป็นกีฬาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2530 เมื่อประเทศอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ นครจาการ์ต้า  ในปีเดียวกัน และได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาปันจักสิลัต ขึ้นเป็นครั้งแรกในซีเกมส์   จึงชวนกลุ่มอาเซี่ยนเข้าร่วมการแข่งขัน โดยประเทศไทยได้รับเชิญและส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน  โดยอินโดนีเซียมาช่วยแนะนำและฝึกหัดแนะนำกฎกติกาให้เนื่องจากเป็นกีฬาใหม่สำหรับประเทศไทย   องค์กรที่รับผิดชอบได้ให้การสนับสนุนจัดเตรียมนักกีฬาทีมชาติไทยในครั้งนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย  การกีฬาแห่งประเทศไทย  จึงได้วางแผนดำเนินการโดยทราบว่าการเล่นพื้นเมืองของชาวมุสลิมในสุด  จึงให้กองทัพภาคที่  4  จัดตั้งคณะทำงานและเตรียมทีมนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่  14  ขึ้นเป็นครั้งแรก  5  จังหวัดชายแดนไต้ชื่อว่า  สีละเป็นต้นกำเนิดของการกีฬาปันจักสีลัต   ซึ่งนิยมเล่นกันมานานแล้วจึงน่าจะเหมาะสมกับกีฬานี้มากที่